- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 สิงหาคม-5 กันยายน 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,898 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 9,815 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,456 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,545 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 23,750 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 22,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.32
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,730 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,930 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 721 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,188 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 695 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,726 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.74 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 462 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,122 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,374 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 252 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,218 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 412 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,472 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 254 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1606 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
สำนักข่าว Khmer Times รายงานว่า นักวิจัยข้าวกัมพูชากำลังจะเปิดตัวพันธุ์ข้าวใหม่ที่สามารถทนทานต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น และให้ผลผลิตที่ดีกว่าข้าวทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ เพราะพันธุ์ข้าวใหม่นี้ให้รสชาติที่ดีขึ้นหลังหุงสุกแล้ว ซึ่งจากการเปิดเผยของ นาย ลอร์ บุนนา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรแห่งกัมพูชา (Cambodian Agricultural Research and Development Institute: CARDI) ระบุว่า พันธุ์ข้าวใหม่นี้เป็นพันธุ์ข้าวหอมที่พัฒนาโดยทีมวิจัยมาเป็นเวลา 10 ปี และยังไม่ได้มีการตั้งชื่อ แต่ทีมวิจัยกำลังทำงานร่วมกับเกษตรกรเพื่อทดสอบและหวังว่าจะเปิดตัวได้ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา สถาบัน CARDI ได้พัฒนาและเผยแพร่พันธุ์ข้าวมากกว่า 40 สายพันธุ์ให้กับเกษตรกร ซึ่งนายบุนนากล่าวว่า ข้าวทั้ง 44 สายพันธุ์ได้รับการพัฒนาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ตาม พันธุ์ข้าวบางส่วนไม่เหมาะสมอีกต่อไป เนื่องจากปัญหาทางธรรมชาติ ดิน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ ในขั้นต้น สถาบัน CARDI จะเปิดตัวเฉพาะพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง เติบโตเร็ว เพื่อยกระดับความมั่นคงด้านอาหารในประเทศ เมื่อบรรลุความมั่นคงด้านอาหารในประเทศแล้ว นักวิจัยก็เริ่มดำเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมใหม่เพื่อกระตุ้นการส่งออกด้วย นายบุนนากล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2563 สถาบัน CARDI ได้ทำการวิจัยพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับพันธุ์อื่นที่ทนต่อน้ำท่วมและข้าวที่ทนต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน นายเวง สาคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (the Minister of Agriculture, Forestry and Fisheries) ได้ประกาศเปิดตัวข้าวพันธุ์ใหม่ชื่อ พกา เมลาดี (Phka Mealadei) ซึ่งข้าว Phka Mealadei เป็นข้าวพันธุ์ลูกผสมระยะกลางตามฤดูกาลที่สถาบัน CARDI ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์และได้ทำการทดสอบกับระบบนิเวศน์ทางการเกษตรที่หลากหลายเป็นเวลา 14 ปี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเสียมเรียบ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่
ปีนี้มีความรุนแรง โดยในส่วนของจังหวัดเสียมเรียบ มีนาข้าวได้รับความเสียหายรวมกันแล้วมากกว่า 87,500 ไร่ ถึงแม้
ทุกฝ่ายจะคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ภัยแล้งจะรุนแรงเป็นทวีคูณ ซึ่งเป็นผลจากภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังคงตั้งความหวังว่า จะมีฝนตกลงมาเพิ่มขึ้นในอีกไม่ช้านี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำ ทั้งเพื่อการเพาะปลูกข้าวและการเกษตรประเภทอื่น
ขณะที่ข้อมูลโดยกระทรวงเกษตรของกัมพูชา (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) ระบุว่า
แม้การเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลปีนี้จะเพิ่มขึ้น 789,151 ตัน จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 1,267,791 ตัน อย่างไรก็ตาม นาข้าวมากกว่า 424,637 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.56 ของทั้งประเทศได้รับผลกระทบจาก
ภัยแล้งอย่างหนัก
ที่มา : Oryza.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (the National Bureau of Statistics; NBS) รายงานว่า ผลผลิตข้าวต้นฤดู (early rice output) ในปีนี้คาดว่าจะมีประมาณ 28.02 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 723,000 ตัน หรือประมาณร้อยละ 2.7
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ข้าวต้นฤดูมักจะปลูกในพื้นที่ริมแม่น้ำแยงซี (the Yangtze River) และทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยจะมีการปลูกในเดือนมีนาคมและเมษายน และจะเก็บเกี่ยวในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยในปีนี้การเริ่มต้นปลูกข้าว
ในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้รับผลกระทบเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่น้อยลง และการชลประทานที่ไม่ดีในบางพื้นที่ในภาคใต้ของจีน รวมถึงมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong province) ด้วย ขณะที่เกษตรกรบางส่วนได้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น มันเทศ และข้าวโพด นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวในมณฑลหูหนาน (Hunan province) ที่เคยมีกรณีการปนเปื้อนของสารพิษทำให้ถูกห้ามเพาะปลูกข้าว และมีการลดพื้นที่ปลูกด้วย
นาย Li Suoqiang เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า แม้พื้นที่เพาะปลูกจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากปัญหาภัยแล้งทางภาคใต้ของจีน และการปรับโครงสร้างการผลิตพืชผล แต่ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูร้อนที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวต้นฤดู ทำให้
ความมั่นคงทางด้านผลผลิตธัญพืชมีเสถียรภาพ
กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (The Ministry of Agriculture and Rural Affairs) ระบุว่า ในขณะที่ได้มีการเพิ่มความทันสมัยของการผลิตข้าวมากขึ้น สัดส่วนของการปลูกข้าวในขนาดที่ใหญ่ขึ้นก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรรายใหญ่และสหกรณ์ที่มีความเป็นมืออาชีพกำลังช่วยกันขับเคลื่อนการผลิตข้าวต้นฤดูของจีน
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณส่วนกลางประมาณ 1.2 พันล้านหยวน (ประมาณ 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อสนับสนุนการผลิตข้าวต้นฤดู และยังได้มีการออกนโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวมากขึ้น โดยสัดส่วนของพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวต้นฤดูที่มีคุณภาพสูง (high-quality early rice) อยู่ที่ร้อยละ 50.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีที่แล้ว ทำให้ผลผลิตข้าวในต้นฤดูของปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 944 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับปรุงผลผลิตข้าวต้นฤดู กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตจำนวน 100 รายการ สำหรับการปลูกและเก็บเกี่ยว
ที่มา : Oryza.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เกาหลีใต้
หน่วยงาน Korea Agri-Fisheries and Food Trade Corporation (KAFTC or aT) ประกาศเปิดการประมูลนำเข้าข้าวแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic bidding) ในวันที่ 8 กันยายน 2564 (เปิดรับลงทะเบียนการประมูลในวันที่
9 กันยายน 2564) ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าว (non-glutinous brown/milled rice) รวมทั้งหมด 42,222 ตัน โดยกำหนด
ส่งมอบวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2565 โดยชนิดข้าวที่จะประมูลประกอบด้วย
1. ข้าวกล้องเมล็ดกลางที่ไม่ใช่ข้าวเหนียว (non-glutinous brown rice – medium grain) จากสหรัฐฯ
(US No.3) จานวน 20,000 ตัน กาหนดส่งมอบวันที่ 30 เมษายน 2565
2. ข้าวกล้องเมล็ดยาวที่ไม่ใช่ข้าวเหนียว (non-glutinous brown rice – long grain) จากประเทศใดก็ได้
(US No.3) จานวน 11,111 ตัน กาหนดส่งมอบวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
3. ข้าวกล้องเมล็ดยาวที่ไม่ใช่ข้าวเหนียว (non-glutinous brown rice – long grain) จากประเทศใดก็ได้
(US No.3) จานวน 11,111 ตัน กาหนดส่งมอบวันที่ 31 มีนาคม 2565
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.at.or.kr/article/apko363300/view.action?articleId=39650
ที่มา : Oryza.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.31
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 328.80 ดอลลาร์สหรัฐ (10,574.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 311.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,163.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.72 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 411.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 523.00 เซนต์ (6,709.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชล 549.00 เซนต์ (7,162.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.74 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 453.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.507 ล้านไร่ ผลผลิต 31.632 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.327 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.60 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 2.31 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.594 ล้านตัน (ร้อยละ 1.78 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย โดยผลผลิตมีคุณภาพต่ำเนื่องจากมีฝนตก ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.97
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.04
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.54 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.53 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,036 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,175 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,364 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,630 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.507 ล้านไร่ ผลผลิต 31.632 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.327 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.60 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 2.31 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.594 ล้านตัน (ร้อยละ 1.78 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย โดยผลผลิตมีคุณภาพต่ำเนื่องจากมีฝนตก ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.97
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.04
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.54 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.53 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,036 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,175 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,364 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,630 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.491 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.268 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.661 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.299 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 10.23 และร้อยละ 10.37 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.78 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.83 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.73
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 36.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 36.98 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซียเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนผลผลิตที่เข้าสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี การขาดแคลนนี้ดึงให้ดัชนีราคาอาหารของโลกสูงขึ้น ดัชนีราคาน้ำมันบริโภคสูงขึ้นร้อยละ 91 ตั้งแต่เดือน มิ.ย 2563 ถึงแม้ว่าจะยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์แล้ว ผู้ผลิตก็ยังต้องเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน คลื่นความร้อน และการระบาดจากศัตรูพืช เช่น หนู moth bagworm ฝั่งอินโดนีเซียไม่มีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,492.28 ดอลลาร์มาเลเซีย (35.54 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,566.20 ดอลลาร์มาเลเซีย (36.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.62
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,232.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,228.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอินเดียยืนยันว่าการส่งออกน้ำตาลไปยังอัฟกานิสถานได้หยุดลงตั้งแต่การยึดครองของตาลิบันและสัญญาบางฉบับถูกยกเลิก การส่งออกในฤดูกาลหน้าน่าจะกลับมาเป็นปกติตามสถานการณ์ที่ทรงตัว ทั้งนี้อินเดียได้จัดส่งน้ำตาลในปี 2563/64 ให้อัพกานิสถานไปแล้ว 650,000 ตัน
- โฆษกกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ USDA กล่าวว่า พายุเฮอริเคนไอทำให้ไร่อ้อยในรัฐลุยเซียนาตอนใต้ น้ำท่วมและมีความเสี่ยงของน้ำเค็มเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อาจทำให้เกิดความเสียหายระยะยาวต่อพื้นที่เพาะปลูก เจ้าหน้าที่ของ US Sugar สังเกตว่าอ้อยบางส่วนถูกพายุพัดเสียหาย โรงงาน Chalmette ของ ASR และโรงงานน้ำตาล Louisiana (LSR) ใน Gramercy ยังคงปิดให้บริการ ณ วันที่ 31 สิงหาคม ASR กล่าวว่า
ความเสียหายมีน้อยในขณะที่โรงงานและสต็อกอื่น ๆ ควรช่วยรักษาอุปทานน้ำตาลให้คงที่ในขณะเดียวกัน ส่วนต่าง ๆ ของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ตอนล่างถูกปิด ซึ่งปิดกั้นการเดินเรือที่บรรทุกธัญพืชเพื่อการส่งออก
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,288.60 เซนต์ (15.43 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,340.72 เซนต์ (16.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.89
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 343.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.19 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 352.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 59.19 เซนต์ (42.52 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 60.97 เซนต์ (44.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.92
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,288.60 เซนต์ (15.43 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,340.72 เซนต์ (16.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.89
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 343.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.19 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 352.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 59.19 เซนต์ (42.52 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 60.97 เซนต์ (44.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.92
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 26.00
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.75
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 947.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 869.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 854.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,200.80 ดอลลาร์สหรัฐ (38.62 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,162.20 ดอลลาร์สหรัฐ (38.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.62 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 775.20 ดอลลาร์สหรัฐ (24.93 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 762.40 ดอลลาร์สหรัฐ (24.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 981.60 ดอลลาร์สหรัฐ (31.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,002.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.20 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.57 ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.87 บาท ในสับดาห์ก่อนร้อยละ 13.44
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.10 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.07
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 93.80 เซนต์ (กิโลกรัมละ 68.66 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 95.58 เซนต์ (กิโลกรัมละ 69.84 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.18 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,763 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1, 853 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,485 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,585 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,039 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.84 คิดเป็นร้อยละ 0.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.90 ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.37 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.52 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 298 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 330 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.88 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 106.07 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.02 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.63 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.84 คิดเป็นร้อยละ 0.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.90 ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.37 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.52 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 298 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 330 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.88 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 106.07 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.02 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.63 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 5 กันยายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.96 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 127.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 220.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.61 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 5 กันยายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.96 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 127.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 220.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.61 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา